PATEK PHILIPPE Split-Seconds Chronograph with Perpetual Calendar

 

ตั้งแต่ Antoine Norbert de Patek และ Adrien Philippe ร่วมกันสร้างแบรนด์ Patek Philippe ขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน คอลเลคชั่นต่างๆ ของแบรนด์ก็ยังคงอยู่ในรูปแบบความคลาสสิคและคงความเป็น Patek Philippe ได้มากที่สุดแบรนด์หนึ่งเมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างๆ ที่มีอายุอานามไล่ๆ กัน

 

เรื่องนี้ต้องยกความดีให้กับ Mr. Philippe Stern และลูกชาย Mr. Thierry Stern ที่มีแนวคิดในการพัฒนา สร้างสรรค์ และคงความเป็น Patek Philippe ได้อย่างผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างความเป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นาฬิการุ่นที่สามารถแสดงให้เห็นถึงเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนน่าจะเป็น Patek Philippe ใน Reference 5204P ที่จัดแสดงและเปิดตัวในงาน Baselworld 2012 ด้วยคุณสมบัติครบถ้วนของความเป็นนาฬิกา Chronograph ตามวัฒนธรรมการผลิตแบบดั้งเดิมของสวิตเซอร์แลนด์ ที่รวมเอาฟังก์ชั่น Chronograph แบบ Split Second และฟังก์ชั่น Perpetual Calendar เข้าไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสมที่สุดในยุคปัจจุบัน

 

กลไกคาลิเบอร์ CH 29-535 PS ที่เปิดตัวในปี 2009 กับนาฬิกา Chronograph สำหรับสุภาพสตรี Reference 7071 ซึ่งต่อมาในปี 2010 ก็ถูกนำมาใช้กับนาฬิกา Chronograph สำหรับสุภาพบุรุษ Reference 5170 และในปี 2011 ก็มีการเพิ่มเติมฟังก์ชั่น Perpetual Calendar เข้าไปในนาฬิกา Chronograph กับ Reference 5270 จนถึงปีนี้กับ Reference 5204 ที่ถือเป็นจุดสูงสุดของนาฬิกากลุ่มนี้นั่นก็คือ Split-Seconds Chronograph with Perpetual Calendar ในกลไกคาลิเบอร์ CHR 29-535 PS Q

 

Unknown

  Ref.7071R

 

Unknown 1

Ref.5170J 

 

Unknown 2

 Ref.5270G

 

ก่อนหน้านี้นาฬิกากลุ่ม Chronograph ของ Patek Philippe จะใช้กลไกคาลิเบอร์ CH 27-70 ซึ่งพัฒนาจากกลไก Nouvelle Lemania ที่ในปัจจุบันจะใช้เฉพาะกลุ่มนาฬิกาของ Swatch Group ที่เป็นเจ้าของแบรนด์เท่านั้น อย่างไรก็ตามนาฬิกากลุ่มนี้ของ Patek Philippe ตั้งแต่ Chronograph-Reference 5070, Chronograph Perpetual Calendar-Reference 3970 หรือ 5970 จนกระทั่ง Split-Seconds Chronograph Perpetual Calendar ใน Reference 5004 ก็นับเป็นนาฬิกาที่มีผู้ให้ความสนใจและยอมรับอย่างสูงสุด ถึงกับทำให้ราคาค่าตัวของทุกเรือนสูงขึ้นกว่าราคาเปิดตัวในตอนแรก นอกจากนี้ราคาจากสำนักการประมูลแต่ละแห่งก็บ่งชี้ให้เห็นถึงราคาค่าตัวที่สูงขึ้นๆ เกือบทุกครั้งเมื่อมีการประมูลนาฬิกากลุ่มนี้ 

 

Unknown 3

Ref.5070G   

 

Unknown 4

 Ref.3970G

 

Unknown 5

Ref.5970G 

 

Unknown 6

 Ref.5004G

 

ดังนั้นแล้วการเปิดตัวของ Patek Philippe ใน Reference 5204P ในปีนี้จึงนับเป็นย่างก้าวสำคัญที่จะกำหนดบทบาทและทิศทางของนาฬิกากลุ่มนี้ทั้งในคอลเลคชั่นของ Patek Philippe เองและในตลาดนาฬิกาทั่วไปอีกด้วย

 

Unknown 7Unknown 8

Ref.5204P

 

Patek Philippe, Reference 5204P Split-Seconds Chronograph Perpetual Calendar หน้าปัดสี Silvery Opaline ผลิตจากทองคำ 18k พร้อมมาร์กเกอร์ทั้ง 12 หลักที่ผลิตจาก White Gold 18k เคลือบสารเรืองแสง และเข็มที่ผลิตจากทองคำ 18k โดยผ่านกรรมวิธี Black-Oxidized เคลือบสารเรืองแสง ตัวเรือนแบบใหม่ที่แตกต่างจาก Reference 5270 โดยยังคงรูปแบบขาตัวเรือนตรงที่คงความคลาสสิคได้อย่างไม่เสื่อมคลาย มาในวัสดุ Platinum ขนาด 40 มิลลิเมตร หนา 14.19 มิลลิเมตร พร้อมเพชรระดับ Top Wesselton 1 เม็ดที่ตัวเรือนตำแหน่ง 6 นาฬิกาอันเป็นสัญลักษณ์ของ Patek Philippe ที่ทำให้รู้ว่านี่คือตัวเรือน Platinum เท่านั้น

 

20120410 78744233 20120410 59108527

Ref.5204P

 

กลไกคาลิเบอร์ CHR29-535 PS Q ซึ่งสร้างขึ้นและพัฒนาโดยโรงงานของ Patek Philippe เองที่คงความงดงามของรูปแบบการจัดวางชิ้นส่วนต่างๆ อย่างลงตัวพร้อมการใช้งานของฟังก์ชั่นที่สมบูรณ์แบบกับนวัตกรรมทั้ง 6 ที่จดสิทธิบัตรโดย Patek Philippe เรียบร้อยแล้ว 

 

20120410 99032407 20120410 48328448

กลไก Split-Seconds Chronograph with Perpetual Calendar คาลิเบอร์ CHR29-535PS Q ที่ใช้ใน Ref.5204P

 

เชื่อแน่ว่า หาก Norbert Antione de Patek และ Adrien Philippe มีโอกาสได้เห็นผลงานชิ้นล่าสุดจาก Patek Philippe นี้ ก็ต้องภูมิใจในศักยภาพการส่งต่อศิลปะการผลิตเรือนเวลาชิ้นงามบนข้อมือภายใต้แบรนด์ Patek Philippe ในปัจจุบันอย่างแน่นอน

 

By: Dr. Pramote Rienjaroensuk