ช่วงเวลากว่า 200 ปีของประวัติศาสตร์อันยาวนานของ LONGINES, Part II

ในปี 1916 LONGINES เริ่มพัฒนากลไกในรูปทรงแบบต่างๆ มากขึ้นทั้งแบบสี่เหลี่ยม และแบบวงรี เพื่อใช้กับนาฬิการุ่นต่างๆ ที่มีการออกแบบเพิ่มเติมมากขึ้น สำหรับตลาดที่มีความต้องการแตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ LONGINES มีนาฬิการุ่นต่างๆ ผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง

222

ปี 1919 ด้วยความสามารถของ Mr. John P. V. Heinmuller ผู้อำนวยการของ LONGINES สาขาประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้ LONGINES ได้รับการรับรองให้เป็นผู้ผลิตนาฬิกาอย่างเป็นทางการให้แก่สหพันธ์การบินนานาชาติ รวมไปถึงอุปกรณ์การบินอีกหลายชนิดอีกด้วย 

1919 longines official supplier for international aeronautical federation

ปี 1927 นายทหารแห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา Philip Van Horn Weems ได้พัฒนาระบบนำร่อง Weems ขึ้น โดยประกอบขึ้นจากชุดนำร่องที่พัฒนาร่วมกันกับ LONGINES และนาฬิกา LONGINES Weems Second-Setting ก็ได้รับการจดสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการในปี 1935

1927 longines weems second setting watch

 

ปี 1931 หลังจากการบินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคเหนือในปี 1927 แบบไม่แวะพักเครื่องครั้งประวัติศาสตร์จบลง Charles A. Lindbergh ได้ออกแบบอุปกรณ์นำร่องและมอบให้ LONGINES ทำการผลิต และเป็นจุดกำเนิดของนาฬิกา LONGINES Lindberge Hour Angle

8788 

ปี 1936 LONGINES เริ่มต้นผลิตกลไกคาลิเบอร์ 13ZN อันโด่งดัง เพื่อสำหรับใช้ในนาฬิกาข้อมือ โดยกลไกชุดนี้ถือว่ามีความยืดหยุ่นสูง และสามารถรองรับความต้องการอันหลากหลายได้ดี พร้อมฟังก์ชั่นโครโนกราฟแบบปุ่มเดียวหรือสองปุ่ม ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรโดย LONGINES

 

1936 longines create calibre 13zn

 

ปี 1939 LONGINES พัฒนาอุปกรณ์จับเวลาเพื่อใช้ในการกีฬาขึ้น จากพื้นฐานของกลไกแบบ 24-line โดยมีทั้งแบบที่เป็นกลไกฟลายแบ็คหรือกลไกโครโนกราฟปกติ โดยมีความพิเศษในการจับเวลาอย่างละเอียด และเที่ยงตรงถึงระดับ 1/100 วินาที

444

และในปีเดียวกันนั้นเอง LONGINES มีการพัฒนากลไกคาลิเบอร์ 21.29 ที่ใช้คำนวณค่าเวลาทางดาราคติ โดยสามารถแสดงผลเป็นค่าองศา ลิปดา และฟิลิปดา เพื่อหาค่าตำแหน่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยการนำค่ามุมของเวลา จุดเวอร์นัลเทียบกับเวลาที่กรีนิช

1939 longines develop siderometer

ปี 1945 LONGINES เปิดตัวและจดสิทธิบัตรกลไกอัตโนมัติคาลิเบอร์ 22A ที่เป็นกลไกอัตโนมัติชุดแรกของ LONGINES และยังถือเป็นกลไกอัตโนมัติ ที่ผ่านการผลิตในแบบอุตสาหกรรมเป็นกลไกแรกของโลก และถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับ LONGINES ในยุคนั้น

 

1945 self winding movement 22a

 

ปี 1947 แผนกเทคนิคของ LONGINES ประสบความสำเร็จในการพัฒนา และสร้างกลไกไขลานโครโนกราฟรุ่นใหม่ได้สำเร็จ โดยกลไกไขลานโครโนกราฟชุดนี้มีรหัสคาลิเบอร์ 30CH ซึ่งถือเป็นแนวทางการในพัฒนาและผลิตกลไกไขลานโครโนกราฟในยุคต่อๆ มา

111947 longines hand wound mechanical movement 30ch

ปี 1954 LONGINES พัฒนากลไกแบบควอท์ซขึ้นเป็นครั้งแรก และสร้างสถิติด้านความเที่ยงตรงในหลายรายการ จากการทดสอบที่หอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่นูเชอเทล โดยพัฒนาขึ้นร่วมกับกลไกโครโนกราฟพร้อมกล้องแบบ 16 มม. เพื่อใช้จับเวลาในการแข่งขันในชื่อ Chronocinégines

 

1954 longines first quartz clock neuchatel observatory

 

  

ในปีเดียวกัน LONGINES เปิดตัวคอลเลคชั่น Conquest ซึ่งเป็นการหลอมรวมหลากหลายคอนเซ็ปท์ของแบรนด์ และนับเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกในแง่ยุทธศาสตร์ของ LONGINES เพื่อการพัฒนาเครื่องบอกเวลารุ่นต่อๆ มา สำหรับตลาดที่ต้องการสิ่งใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

 

1954 longines launch conquest collection

 

ปี 1957 หลังจากการเปิดตัวนาฬิกาในคอลเลคชั่น Conquest ที่ประสบความสำเร็จในตลาดแล้ว ทาง LONGINES จึงตัดสินใจเปิดตัวนาฬิกาในคอลเลคชั่นหรูหรามากขึ้นในชื่อ Flagship ที่มีฝาหลังตัวเรือนอันโดดเด่น ด้วยการสลักรูปเรือคาราเวลประดับไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์

 

1957 longines elegant flagship collection

 

ปี 1959 LONGINES พัฒนากลไกคาลิเบอร์ 360 ขึ้นเพื่อส่งเข้าแข่งขันที่หอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์โดยเฉพาะ โดยมีบาลานซ์สปริงที่ยาวกว่าปกติ และสามารถทำให้เกิดความถี่ในระดับสูงที่ 36,000 รอบต่อชั่วโมง ส่งผลให้นาฬิกาเกิดความเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น

 

1959 longines calibre 360

ปี 1963 เพื่อก้าวสู่โลกใหม่ของวงการนาฬิกา LONGINES จึงนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาปรับใช้ ในการออกแบบกลไกไฟฟ้ารุ่น L400 ที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ปรอทขนาดกำลัง 1.35V และนำเข้าแข่งขันที่หอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

1963 longines electromechanical calibre l400

LON BanS 23532 Iamwatchbanner 01Dec20 P SP1 TH