Ref. 6310P, The First Grand Sonnerie Wristwatch from PATEK PHILIPPE, Part II

 

นาฬิกา PATEK PHILIPPE ใน Ref. 6301P มีความโดดเด่นตามหลักการสำคัญของแบรนด์ ที่ต้องคำนึงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างสวยงามไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นรูปแบบตัวเรือนของนาฬิกาใน Ref. 5370 ที่นำเสนอในปี 2015 จึงถูกนำมาปรับใช้ เนื่องจากตัวเรือนนี้ แสดงได้ถึงความละเอียดอ่อนและความสมดุล ทั้งในส่วนโค้งและรูปทรงอันโค้งมน

 

4545

 

พร้อมขอบหน้าปัดที่เว้า เพื่อรับกันอย่างสมบูรณ์กับกระจกแซฟไฟร์ ที่มีความโค้งนูนเล็กน้อย โดยด้านข้างตัวเรือนมีการขัดแต่งลายซาติน เพื่อเน้นให้ส่วนที่ขัดเงามีความโดดเด่นยิ่งขึ้น และเช่นเดียวกันกับตัวเรือนนาฬิกาจาก PATEK PHILIPPE ที่ผลิตจากแพลทตินัม ที่จะมีการประดับเพชรเม็ดเล็กที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ที่ตามปกติจะอยู่ที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา แต่เป็นปุ่มสไลด์เพื่อเลือกโหมดแทนสำหรับนาฬิกาเรือนนี้

 

PP 6301P 001 DET 28203

 

PATEK PHILIPPE ใช้ทักษะทั้งในด้านงานศิลปะ และงานฝีมือหายากหลายแขนง สำหรับนาฬิกาเรือนนี้ โดยเฉพาะบนหน้าปัดที่ผลิตจากเทคนิคกรองด์ฟูว์อีนาเมลสีดำ ที่มีการเคลือบผิวแบบกลาเซียร์ พร้อมตัวเลขแบบบริเกต์ ที่มีองศาการเอียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มไดนามิคให้กับหน้าปัดแบบคลาสสิค และเข็มทรงใบไม้ที่ผลิตจากไวท์โกลด์ในแบบร่วมสมัย

 

PP 6301P 001 DET 28179 1

 

การแสดงเวลาชั่วโมง นาที และวินาทีที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา มีสัดส่วนที่พอดีควบคู่กันไปกับชุดเข็มชี้แสดงพลังสำรองลานสองชุด โดยสำหรับการทำงานของชุดกลไกที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกา และซองเนอรีที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา โดยแสดงเป็นสเกลแบบครึ่งวงกลมที่ระบุด้วยคำว่า MOUVEMENT และ SONNERIE เพื่อความเข้าใจได้ในทันที มาพร้อมกับสายหนังจระเข้สีดำเงา ที่เย็บด้วยมือ พร้อมดีพลอยแอนท์บัคเคิลแพลทตินัม

 

PP 6301P 001 DET 27872

 

สำหรับ PATEK PHILIPPE แล้ว การตัดสินใจเปิดตัวนาฬิกากลไกมินิทรีพีทเตอร์อีกครั้งในปี 1989 ทำให้แบรนด์มีความสามารถในการพัฒนา และเปิดโลกแห่งเทคนิคสมัยใหม่สู่กลไกชนิดนี้ได้มากขึ้น มาจนถึงนาฬิกาใน Ref. 6301P นี้ซึ่งเป็นนาฬิกาคอลเลกชั่นปกติ ซึ่งอย่างไรก็ตามทาง PATEK PHILIPPE ก็ยังคงความสามารถในการผลิตได้เพียงไม่กี่เรือนต่อปี ทั้งนี้ก็เพื่อความสมบูรณ์แบบของเสียงที่สำคัญที่สุด

 

PP 6301P 001 DET 28550

 

โดยผู้ที่ชื่นชอบและสนใจในเสียง พร้อมหลงใหลในเครื่องบอกเวลา จะยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรู้ถึงความสลับซับซ้อนของกลไกฟังก์ชั่นพิเศษทั้ง 6 ในนาฬิกาเรือนนี้เรือนเดียว โดยมีการจดสิทธิบัตรสำหรับกลไกการทำงานชนิดต่างๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตร CH704 950 B1 ของชุดกลไกหยุดเสียงฟังก์ชั่นกรองด์ซองเนอรี สิทธิบัตร CH 706 080 B1 ที่เป็นชุดกลไกการเลือกโหมดเสียงแบบต่างๆ

 

PP 6301P 001 DET 29087 

และสุดท้ายกับสิทธิบัตร CH 707 181 A2 ที่เป็นชุดกลไกสำหรับชุดแสดงเวลาวินาที ที่ปราศจากสปริงและคันโยกตามปกติ แต่ใช้วีลและการปลดล็อคในแต่ละวินาที โดยมีชุดสปริงรีเทริ์นเป็นองค์ประกอบหลักชุดเดียว ซึ่งข้อดีของชุดกลไกนี้คือการทำให้สามารถควบคุมการใช้พลังงานลาน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น จากปัญหาของกำลังลานที่จะส่งผลถึงการแสดงเวลาที่อาจทำให้คลาดเคลื่อนได้