Know how of ULYSSE NARDIN

ความสำเร็จในขั้นตอนใหม่ๆ แต่ละครั้ง ถือเป็นเครื่องยืนยันได้ดี ถึงผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำของโลก ในแง่มุมของนักผจญภัยที่กล้าหาญ ในโลกของนาฬิการะดับสูง แต่ในขณะที่ความสำเร็จจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในแต่ละครั้ง ยังคงนำมาซึ่งความภาคภูมิใจให้กับแบรนด์อยู่เสมอ เพราะ ULYSSE NARDIN รู้ดีเสมอว่าประสบการณ์จากการทำงานอย่างหนัก ถือเป็นสิ่งสำคัญของโลกแห่งนาฬิกาเสมอ

 

grand feu 1

 

ซึ่งไม่เพียงแต่เทคนิคอันล้ำสมัย แต่แม้แต่กับเทคนิคการตกแต่งในอดีตที่เคยถูกลืมเลือนจากโลก ที่ซึ่งความเชี่ยวชาญที่มีอยู่นี้จะมาได้จากช่างฝีมือเพียงไม่กี่คนเท่านั้น กับเทคนิคอีนาเมลที่นำมาใช้กับหน้าปัดนาฬิกา และสร้างความโดดเด่นได้อยู่เสมอนับตั้งแต่อดีต จากอีนาเมลที่ปกติจะเป็นสีขาว สีเบจ หรือทึบแสง และแพร่หลายมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แล้ว จากเทคนิคการหลอมเหลวหรือการทำให้เป็นกรด

 

grand feu 2

 

นั่นก็คือการเผาสารที่มาจากวัสดุแร่ที่หลอมละลาย ในอุณหภูมิสูงอย่างน้อยในระดับ 500 องศาเซลเซียส โดยเทคนิคอีนาเมลที่ผลิตโดยโรงงานของ ULYSSE NARDIN ภายใต้ชื่อDONźE CADRANS ที่ทำหน้าที่ผลิตหน้าปัดด้วยเทคนิคนี้ ตามหลักการดั้งเดิมบนแผ่นฐานที่ผลิตจากบรองซ์ ในโทนสีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสีดำ สีน้ำเงิน สีแดง หรือสีอื่นๆ ที่โรงงานแห่งนี้สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างงดงาม

 

grand feu 3

 

รวมไปถึงหน้าปัดย่อยที่เพิ่มเข้ามา จากหน้าปัดหลักที่ใช้เทคนิคเดียวกัน นำมาประกบกันด้วยมือแล้วจึงบัดกรีด้วยดีบุก ส่วนหน้าปัดที่ชำรุด แตกร้าว หรือเสียหายเพียงน้อยนิด จากขั้นตอนการทำงานกับความร้อนตามธรรมชาติ ที่ไม่อาจควบคุมได้โดยง่ายจะไม่สามารถซ่อมแซมได้เลย ที่ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงรูปแบบการทำงานเหมือนกับที่เคยทำไว้ในอดีต ดังนั้นโรงงานแห่งนี้จึงยังคงสามารถสร้างชิ้นงานแบบดั้งเดิมได้อยู่เสมอ

 

flinque 1

 

ส่วนเทคนิค "กิโยเช่" จะเป็นการตกแต่งที่สร้างด้วยเครื่องกลึงกิโยเช่ ที่ทำให้ชิ้นงานมีราคาค่อนข้างสูง และมักสงวนไว้สำหรับหน้าปัด ที่ผลิตจากโลหะมีค่าเช่นทองคำหรือเงิน ส่วนลวดลาย "ฟลิงเก้" จะเกิดจากการใช้เครื่องมือตอกขึ้นรูปที่แรงดันมากกว่า 100 ตัน จากนั้นจึงเป็นการเคลือบด้วยอีนาเมล สีโปร่งแสงเพื่อเน้นลวดลาย ที่ต้องผ่านขั้นตอนการขัด เจาะ และตกแต่งอื่นๆ ด้วยช่างฝีมือผู้มีประสบการณ์

 

flinque 2

 

ต่อมาคือเทคนิคชองพลีเว่อีนาเมล ที่มาช่างฝีมือชาวไบแซนไทน์ ที่ได้นำเทคนิคที่ชาวโรมันใช้ มาปรับปรุงและทำให้เกิดความสมบูรณ์แบบ โดยช่างแกะสลักจะสร้างขอบเป็นลายเส้นหลักบนฐานโลหะ แล้วจึงทำการลงสีอีนาเมลในแต่ละส่วน เพื่อให้เกิดเป็นภาพแบบสามมิติ โดยเทคนิคชองพลีเว่อีนาเมลนี้ จะยังสามารถพบได้ในเครื่องเคลือบยุคไบแซนไทน์ ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 9 ถึงศตวรรษที่ 12

 

champleve 1

 

แต่สำหรับชิ้นงานระหว่างช่วงปี ค.ศ. 726 ถึง ค.ศ. 787 ส่วนใหญ่จะถูกทำลายเนื่องจากมีสัญลักษณ์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับยุคต่อๆ มา ซึ่งปัจจุบันนี้ เทคนิคชองพลีเว่อีนาเมลสามารถพัฒนา ให้เกิดคุณภาพที่สูงมากขึ้นได้ จากการออกแบบอันละเอียดอ่อน จากช่างฝีมือสองกลุ่มทั้ง  ช่างแกะสลักและผู้เคลือบลงยาอีนาเมล โดยช่างแกะสลักจะวางลวดบนแผ่นฐาน เพื่อให้ผู้ทำการเคลือบสามารถลงยาอีนาเมลได้ในลำดับถัดไป

 

cloisonne 1

 

ซึ่งเมื่อเคลือบและขัดเงาแล้ว ช่างแกะสลักจะยึดชิ้นลวดต่างๆ เพื่อปิดผนังทั้งหมดของช่องหน้าปัด และสร้างให้เกิดเอฟเฟ็คท์แบบสามมิติ ด้วยการแกะสลักที่งานอันละเอียดอ่อนนี้ ต้องอาศัยการควบคุมแรงกดดันจากสิ่วและข้อมือที่ลื่นไหลอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาในการสร้างงานประมาณ 8 ถึง 15 ชั่วโมง ซึ่งหน้าปัดเหล่านี้จะผลิตขึ้น โดยความร่วมมือกับช่างแกะสลักอิสระในท้องถิ่น ที่ยังคงสร้างชิ้นงานแบบดั้งเดิมอยู่