Untold Story “The Cartiers” Part XIV

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 Claude Cartier มีชื่อเสียงในฐานะชายโสดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดคนหนึ่งของแมนฮัตตัน เขาอายุเพียง 20 ปีแต่ได้ชื่นชมความมั่งคั่งที่มาพร้อมกับตำแหน่งผู้นำของ CARTIER ในนิวยอร์ก โดยเขายังคงตั้งคำถามกับการตัดสินใจ ที่จ่ายเงินจำนวนมากให้กับลุงของเขา Pierre Cartier สำหรับสิทธิพิเศษในการแลกเปลี่ยนหุ้น ของสาขาปารีสกับสาขานิวยอร์ก โดย Claude ใช้เวลามากขึ้นกับงานสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งในเดือนมีนาคมปี 1954 มีข่าวการหมั้นหมายระหว่างเขากับนางแบบของ Dior แต่ในปีถัดมาก็มีรายงานว่าเขากำลังออกเดทกับนางแบบอีกคนหนึ่ง และงานแต่งงานก็ถูกยกเลิกไป โชคดีที่ทีมของ Pierre นั้นได้มีประสบการณ์มามากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา จึงแข็งแกร่งพอที่จะสนับสนุนบริษัทอยู่ได้ แม้ว่า Claude จะเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์น้อยก็ตาม จนสุดท้ายในช่วง 1956 ปลายปีนั้น Claude ก็ประกาศการหมั้นหมายกับ Rita Salmona ทายาทชาวอิตาเลียนอเมริกันขึ้น โดยมีการจัดงานแต่งขึ้นที่โบสถ์นอร์ธราดามในปารีส ซึ่งเป็นงานสังคมชั้นสูงระดับนานาชาติ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติรวมทั้ง เจ้าหญิง และเหล่าขุนนางที่ต่างมาเพื่อฉลองให้กับบุตรชายของ Louis Cartier ผู้ยิ่งใหญ่ กับสาวผู้เปี่ยมสุขในสังคมอเมริกันชั้นสูง

 

pierre cartier 1910.jpg 1536x0 q75 crop scale subsampling 2 upscale false

 

และเมื่อ Jean-Jacques อายุได้ 40 ปีกับฐานะกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายผลิตของ CARTIER สาขาลอนดอน ที่เขาดูแลกระบวนการสร้างสรรค์ทุกด้าน ตั้งแต่การซื้ออัญมณีไปจนถึงการออกแบบ รวมถึงงานฝีมือที่มีรายละเอียดในเวริ์คช็อปด้วย โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากชามถั่วบนโต๊ะในช่วงคริสต์มาสและทำให้ Jean-Jacques ตัดสินใจสร้างกล่องยารูปทรงวอลนัทขนาดเล็กขึ้น ซึ่งโดยปกติงานทุกชิ้นของ CARTIER สาขาลอนดอนจะสร้างขึ้นทุกอย่างด้วยมือ แต่ในกรณีนี้ Jean-Jacques ตัดสินใจหล่อชิ้นงานรูปทรงวอลนัทด้วยทองคำ อันเป็นการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตขึ้น และสำหรับบทบาทในฐานะผู้ถือหุ้น Jean-Jacques จึงต้องปรากฏตัวเพื่อเข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการบริหารของสาขาปารีส ที่ทำให้ลูกพี่ลูกน้องได้มีโอกาสพบกันบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็พวกเขาก็ยังขาดความผูกพันกันในแบบคนรุ่นก่อน รวมไปถึงการติดต่อทางธุรกิจกันระหว่างสาขา ในขณะที่ Marion Cartier ก็แยกทางกับสามีของเธอ และด้วยเหตุนี้สามีของเธอจึงลาออกจากตำแหน่งผู้นำของบริษัท และตำแหน่งของเขาถูกแทนที่โดย Pierre Pual Clattman ในฐานะประธานรุ่นต่อมาของ CARTIER S.A. ที่ถือเป็นคนนอกเป็นครั้งแรก

 

61aWkMha8cL. AC UF8941000 QL80

 

ในฤดูร้อนปี 1958 Pierre และ Elma มีการฉลองวันครบรอบแต่งงานของพวกเขาครบ 51 ปีตั้งแต่วันแรกที่พบกันกับ ซึ่งตอนนี้เธออายุ 79 ปีและเริ่มอ่อนแรงลง รวมทั้งกลายเป็นการฉลองครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของเธอ  เพียงหนึ่งปีต่อมาที่เธอก็เสียชีวิตลงและ Pierre ถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ในขณะที่ทศวรรษ 1960 การสวมใส่อัญมณีเป็นเรื่องที่แตกต่างออกไป พร้อมรูปแบบความมั่งคั่งด้านการแสดงออกเริ่มลดน้อยลง แม้แต่ผู้ที่มีอัญมณีที่สำคัญก็ยังพยายามหาโอกาสที่จะสวมใส่ในหลายโอกาส และ Claude ในวัย 35 ปีก็กลับมาบริหารร้านอีกครั้งหลังจากแต่งงาน พร้อมการเผชิญหน้ากับสภาพเศรษฐกิจ ที่ยากลำบากและดูเหมือนว่าจะแย่ลงไปอีก รวมถึงการชะลอตัวด้านการขายลงถึงจุดต่ำสุด และที่น่ากังวลยิ่งกว่านั้นก็คือ มีกระแสความกลัวจากอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และภัยคุกคามของสงครามเย็นจากรัสเซีย ที่แม้แต่ Pierre ก็ยังรู้สึกกดดัน ในขณะที่ภายในร้านของ CARTIER สาขานิวยอร์ก ประเภทของเครื่องประดับที่จัดแสดง ก็ไม่แตกต่างไปจากสาขาลอนดอนและสาขาปารีส โดยในช่วงนี้สิ่งของที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือเข็มกลัดขนาดเล็ก ซึ่งมักจะเป็นธีมดอกไม้หรือสัตว์ในรูปแบบอาร์ทเดคโค

 

Screenshot 2565 12 25 at 02.46.59

 

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากโชคไม่ดีพอๆ กับการวางแผนที่ไม่ดี อันรวมไปถึงการตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นของ Claude ในการเปิดสาขาการากัส อันเป็นเมืองหลวงของประเทศเวเนซุเอลาในปี 1953 พร้อมช่วงเวลาที่ไม่มั่นคงทางการเมืองในอเมริกาใต้ ซึ่งพนักงานที่มีอายุงานมามากกว่าสี่สิบปี แนะนำว่าอาจไม่ใช่ความคิดที่รอบคอบนัก โดยเฉพาะหลังจากการปล้นครั้งใหญ่ที่ร้าน TIFFANY เมื่อสองสามปีก่อนหน้านั้น แต่คำแนะนำของเขาถูกเพิกเฉย และในเช้าวันหนึ่งช่วงเดือนมิถุนายนปี 1960 โจรได้ปล้นอัญมณีจากตู้โชว์หน้าร้าน CARTIER แล้วหลบหายไป แต่มีรายงานต่อมาจากหนังสือพิมพ์ NEW YORK TIME ว่าสินค้าซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 30,000 ดอลลาร์ถูกนำกลับคืนมาได้ในเวลาต่อมาโดยเอฟบีไอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากคู่แข่งและอื่นๆ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องที่ CARTIER จะต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิมเพื่อรักษาภาพลักษณ์เอาไว้ ซึ่งกลยุทธ์หนึ่งที่ทดลองและทดสอบแล้ว คือการให้ยืมเครื่องประดับกับลูกค้าที่มีชื่อเสียง อย่างเช่นในกรณีของ Marilyn Monroe กับภาพมากมายพร้อมเครื่องประดับจาก CARTIER ที่คู่แข่งก็พยายามทำเช่นกัน

 

Screenshot 2565 12 25 at 03.18.47

 

เพราะเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ CARTIER อาศัยการบอกเล่าแบบปากต่อปาก หรือข่าวทางอ้อมสำหรับทางการตลาด แม้ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1940 และ 1960 CARTIER จะได้ทดลองโฆษณาในนิตยสารมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีชิ้นงานใหญ่ๆ บ้างอย่างที่ CARTIER ทำการโฆษณาแบบเต็มหน้าในนิตยสาร VOGUE หรือการร่วมมือกันกับรถยนต์ CADILLAC ในโฆษณาปี 1956 กับภาพคู่หนุ่มสาวที่ยืนอยู่นอกร้าน CARTIER สาขานิวยอร์กถัดจาก CADILLAC สีชมพูและสีน้ำเงิน ในขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง DE BEERS ใช้จ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเข้าถึงโฆษณาในระดับโลกอย่างที่แคมเปญ "A Diamond Is Forever" ของพวกเขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นสโลแกน แห่งศตวรรษโดยนิตยสาร ADVERTISING AGE ในขณะที่ TIFFANY เองก็เหมือนจะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหลังจากที่  Walter Hoving นักธุรกิจชาวอเมริกันที่เกิดในสวีเดนเข้าควบคุมกิจการในช่วงกลางปี 1950s โดยพนักงานของ CARTIER สาขานิวยอร์กคนหนึ่งเล่าว่า TIFFANY กลายเป็นที่รู้จักในด้านเครื่องประดับไข่มุกที่มีราคาไม่แพงมาก จากการที่ไข่มุกที่เพาะเลี้ยงได้เข้ามามีบทบาทในตลาดเป็นอย่างมากในช่วงนั้น

 

RealStyle 582x360 feature

 

โดยสำหรับ Claude ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่กลับใช้เวลาในการวิ่งแข่งขันในแซงค์มอริซ หรือเพลิดเพลินกับงานเลี้ยงค็อกเทลในปารีส จนพนักงานบางคนรู้สึกที่ว่าเจ้านายของพวกเขา ไม่ได้สนใจจัดการธุรกิจได้ดีเพียงพอ และเริ่มมีคนสงสัยมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าวันหนึ่งเขาอาจจะขายมรดกทิ้ง ซึ่งตอนนี้ข่าวลือเหล่านั้นเริ่มหนาหูมากขึ้นจนในเดือนธันวาคมปี 1962 เป็นเวลา 53 ปีหลังจากการก่อตั้ง CARTIER สาขานิวยอร์กและ 115 ปีของบริษัท จากครอบครัวของ Louis François และ Alfred รวมถึงสามพี่น้อง Cartier ที่รอดวิกฤตการณ์มาได้ทุกครั้ง ไม่ว่าเหตุการณ์ในชีวิตช่วงนั้นๆ จะประดังมาให้พวกเขามากเท่าไหร่ เพื่อมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งมอบมรดกอันมีค่านี้ให้กับคนรุ่นต่อไป ซึ่ง Claude ที่ขาดการเชื่อมต่อกับแนวคิดของการเสียสละจากบรรพบุรุษ และขาดสำนึกในหน้าที่ของคนในครอบครัว ซึ่ง Pierre ไม่ตกใจกับข่าวลือนี้และได้คุยกับหลานชายวัย 40 ปีของพี่ชาย René-Louis Revillon (ลูกชายของ Anne-Marieภรรยาคนแรกของ Louis) ที่ตกลงจะบินไปอเมริกาเพื่อพบกับ Claude ด้วยตนเองเพื่อให้ข้อเสนอกับ Claude ที่อาจจะเปิดรับแนวทางจาก René-Louis และอาจเปลี่ยนใจเรื่องการขาย หรืออย่างน้อยก็ขายให้กับสมาชิกในครอบครัว

 

Screenshot 2565 12 25 at 03.04.23

 

และ 6 วันหลังจาก René-Louis ออกจากปารีสไปนิวยอร์กในวันที่ 30 พฤศจิกายนปี 1962 เขาโทรเลขหา Pierre เพื่อยืนยันว่าหุ้นของ Claude ใน CARTIER Inc. นั้นพร้อมที่จะขายและพวกเขาสามารถยื่นข้อเสนอได้ ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ดูเหมือนจะมีความหวัง แต่การเจรจาเรื่องการขายของ Claude กับผู้ซื้อรายอื่นนั้นก็ก้าวหน้าไปมากแล้วเช่นกัน และสิ่งที่น่าผิดหวังที่สุดเมื่อ Claude ไม่สนใจที่จะขายให้สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งการสนทนากับผู้ซื้อรายอื่นที่ว่านี้ ก็เป็นความลับอย่างมากและ Pierre ก็ไม่สามารถกระทำการใดๆ ไปได้ดีไปกว่านี้ จนในที่สุดข่าวพาดหัวที่ว่า CARTIER'S JEWELRY STORE SOLD TO BLACK, STARR AND FROST GROUP ที่เป็นข่าวพาดหัวใน NEW YORK TIMES เมื่อวันอังคารที่ 4 ธันวาคมปี 1962 และมีเนื้อหาเรื่องของการขายแต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการเงินใดๆ ก็เป็นหนึ่งในข่าวดังของช่วงนั้น โดยมีการตั้งข้อสังเกตไว้ว่า "Claude Cartier สนใจที่จะขายร้าน CARTIER สาขานิวยอร์กและกลับไปที่ปารีส" และ “การขายในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับร้าน CARTIER สาขาปารีสและร้าน CARTIER สาขาลอนดอน ที่จะยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของครอบครัว Cartier ต่อไปเช่นเดิม"

 

โปรดติดตามได้ในครั้งต่อไป โดยสามารถติดตามบทความก่อนหน้านี้ได้ที่

Untold Story “THE CARTIERS” Part I

Untold Story “THE CARTIERS” Part ll

Untold Story “THE CARTIERS” Part llI

Untold Story “THE CARTIERS” Part lV

Untold Story “THE CARTIERS” Part V 

Untold Story “THE CARTIERS” Part Vl

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlI

Untold Story “THE CARTIERS” Part VlIl

Untold Story “THE CARTIERS” Part lX

Untold Story “THE CARTIERS” Part X

Untold Story “THE CARTIERS” Part XI

Untold Story “THE CARTIERS” Part XII

Untold Story “THE CARTIERS” Part XIIl